วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551


การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
โดยนาย ณฐนน แก้วกันจร

ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้
กนกพร แสงสว่าง (2540 : 11) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า
การเรียนแบบร่วมมือ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยการจัดให้สมาชิกแต่ละกลุ่มมีความหลากหลายทั้งในด้านความสามารถ ความสนใจ เพศและอื่น ๆ โดยแต่ละคนจะมีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน โดยเน้นกระบนการร่วมมือมากกว่าการแข่งขันความสำเร็จของตนเองจะต้องควบคู่ไปกับความสำเร็จของกลุ่ม
อรพรรณ พรสีมา (2540 : 1 – 4) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง วิธีการเรียนที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้กันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกัน แต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้ และในความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 34) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า การเรียนแบบร่วมมือ หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกันโดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้ และในความสำเร็จของกลุ่มทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งทรัพยากรการเรียนรู้รวมถึงการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองท่านั้นหากแต่จะต้องร่วมรับผิดชอบความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม
สมศักดิ์ ภู่วิกาดาวรรธน์ (2544 : 3) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า
การเรียนแบบร่วมมือ หมายถึง วิธีการเรียนที่มีการจัดกลุ่มการทำงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มพูนแรงจูงใจในการเรียน การเรียนแบบร่วมมือไม่ใช่วิธการจัดนักเรียนเข้าอยู่รวมกันแบบธรรมดาแต่เป็นการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน กล่าวคือสมาชิกแต่ละคนในทีมจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการเรียนรู้และสมาชิกทุกคนจะได้รับการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจเพื่อที่จะช่วยเหลือและเพิ่มพูน
การเรียนรู้ของสมาชิกในทีม ดังนั้นการจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มทำงานโดย ๆ ไปจึงอาจไม่ใช่การเรียนแบบร่วมมือ เพราะมักพบว่านักเรียนที่เก่งเท่านั้นจะเป็นผู้จัดการให้เกิดผลงานทีมสมาชิกอื่น ๆ อาจไม่มีโอกาสในการแสดงออกในการเรียนรู้
อนุสรณ์ สุชาตานนท์ (2536 : 10) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า
การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การที่ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน สมาชิกภายในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน มีบทบาทต่างกัน ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความก้าวหน้าไปด้วยกันและรับผิดชอบการทำงานของตัวเองเท่า ๆ กับรับผิดชอบงานของ
แวน เดอ เคล (Van Der Kley อางถึงใน วรรณทิพา รอดแรงคา 2541 : 45) ไดกลาว
วาการเรียนแบบรวมมือหมายถึงการที่นักเรียนมีปฏิสัมพันธรวมกันในการทํางานชวยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนความสําเร็จของกันและกัน โดยที่นักเรียนแตละคนในกลุมจะมีความรับผิดชอบงานของตนเอง การทํางานที่ไดรับมอบหมายของนักเรียนแตละคนจะมีการตรวจสอบและการนําผลการทํางานเสนอในกลุม กลุมจะทําหนาที่ชวยเหลือวาใครออนดานใดคนที่เกงจะชวยเหลือดานนั้นซึ่งจะทําใหการทํางานเขมแข็งขึ้น
ดอยทช์ จอห์นสันและจอห์นสัน (Deutsch Johnson and Johnson อ้างถึงใน กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2546 : 10) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่มีอยู่ด้วยกัน ภายในกิจกรรมที่ร่วมกันทำนี้ แต่ละคนจะแสวงหาผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกอื่น ๆ ในกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือใช้ในการสอนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนสูงสุดแก่ตนและแก่กันและกัน ความคิดเช่นนี้ทำได้ง่าย ๆ โดยแบ่งนักเรียนในชั้นออกเป็นกลุ่มย่อยหลังจากที่ครูให้คำชี้แจงแล้ว นักเรียนทำงานร่วมกันตามที่ได้รับมอบหมายจนกระทั่งสมาชิกของกลุ่มทุกคนมีความเข้าใจถูกต้องและทำงานจนเสร็จสมบูรณ์ ความพยายามที่เกิดขึ้นร่วมกันเป็นผลมาจากการที่นักเรียนพยายามต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของทุกคน ทำให้สมาชิกในกลุ่มได้รับประโยชน์จากความพยายามร่วมกัน (ฉันได้ประโยชน์จากความพยายามของเธอ และเธอก็ได้รับประโยชน์จากความสำเร็จของฉัน) ยอมรับว่าทุกคนลงเรือลำเดียวกัน (ร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน) รับรู้ว่าการกระทำของใครคนหนึ่งเกิดขึ้นโดยตัวของใครคนนั้นและโดยเพื่อนร่วมงานของเขาด้วย (ฉันทำไม่ได้ถ้าขาดเธอ) และรู้สึกภูมิใจและร่วมยินดี เมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งได้รับการยอมรับในผลสัมฤทธิ์ (เธอได้ A ! เยี่ยมไปเลย A !) ในสถานการณ์ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้จะมีการพึ่งพาทางบวก (positive interdependence) ในการมุ่งสู่ความสำเร็จของนักเรียน พวกเขารู้ว่าตนสามารถไปถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ถ้าหากว่านักเรียนคนอื่น ๆ ในกลุ่มไปถึงเป้าหมายได้เช่นกัน

จาก
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
จากความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือดังดังกล่าวพอสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือหมายถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่นักเรียนทำงานร่วมกันโดยการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 2 - 6 คนคละทั้งเพศ เชื้อชาติ ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนสูงสุดแก่ตนเองและแก่กันและกัน ทำให้เกิดการพึ่งพาอย่างสร้างสรรค์ และนักเรียนเกิดความมั่นใจและมีกำลังใจที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายเดียวกัน สมาชิกทุกคนต้องร่วมมือกันจึงจะทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จได้

หลักการของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
จอห์นสันและจอห์นสัน (Johnson and Johnson อ้างถึงใน ทิศนา แขมณี,2550 : 64) กล่าวถึงหลักของการเรียนแบบร่วมมือว่าผู้เรียนควรร่วมมือกันเรียนรู้มากกว่าการแข่งขันกัน เพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการแพ้ – ชนะ ต่างจากการร่วมมือกันซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการชนะ – ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งในด้านจิตใจและสติปัญญา หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือมี 5 ประการประกอบด้วย
1. การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักพึ่งพา (Positive Interdependence) โดยถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึ่งพากัน เพื่อความสำเร็จร่วมกัน
2. การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มีปฏิสัมพันธ์กัน (Face to Face Interaction) (Face to Face Interaction) (Face to Face Interaction) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล และการเรียนรู้ต่าง ๆ
3. การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (Social Skills) โดยเฉพาะทักษะการทำงานร่วมกัน
4. การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (Group Processing) ที่ใช้ในการทำงาน
5. การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ ทั้งรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ที่สามารถตรวจสอบวัดประเมินได้ (Individual Accountability) หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบร่วมมือกัน นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในด้านเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนทางด้านสังคมและอารมณ์มากขึ้นด้วย รวมทั้งมีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกมาก


จอห์นสันและจอห์นสัน (Johnson and Johnson อ้างถึงใน วรรณทิพา รอดแรงค้า 2541 : 132) กล่าวว่า การเรียนแบบร่วมมือมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ ถ้าขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งจะเป็นการทำงานกลุ่ม (Group Work) และไม่ใช่การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) องค์ประกอบทั้ง 5 ได้แก่
1. มีการปฎิสัมพันธ์กันใกล้ชิด (Face to Face Interaction) เป็นการเข้ากลุ่มใน
ลักษณะคละกันทั้งเพศ อายุ ความสามารถหรืออื่น ๆ เพื่อให้นักเรียนได้ช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันในการทำงานร่วมกัน
2. มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Individual Accountability)นักเรียนแต่ละ
คนต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงานกลุ่มเพื่อให้งานสำเร็จออกมาด้วยดี จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละกลุ่มที่ต้องคอยตรวจสอบดูว่าสมาชิกทุกคนได้เรียนรู้หรือไม่ โดยมีการประเมินว่า ทุกคนรู้เรื่องหรือเห็นด้วยหรือไม่กับงานของกลุ่ม อาจมีการสุ่มถามนักเรียนคนใดคนหนึ่งให้รายงานผลว่าเป็นอย่างไร ซึ่งอาจมีบางคนไม่เข้าใจหรือสับสน นักเรียนคนอื่น ๆ ในกลุ่มก็จะได้ช่วยกันอธิบายจนเข้าใจ สมาชิกคนใดคนหนึ่งในกลุ่มสามารถอธิบายได้ทันทีเมื่อมีการเรียกให้รายงานหน้าชั้นเรียน
3. มีการใช้ทักษะกระบวนการกลุ่ม (Cooperative Social Skills) นักเรียนต้อง
ใช้ทักษะความร่วมมือในการทำงานให้มีประสิทธิภาพซึ่งได้แก่ ทักษะการสื่อความหมาย การแบ่งปัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันร่วมมือกันงานจะบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพสูงถ้าทุกคนไว้วางใจและยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน
4. การพึงพาอาศัยกัน (Positive Inter-independence) นักเรียนต้องเข้าใจว่า
ความสำเร็จของแต่ละคนในกลุ่มขึ้นอยู่กับความสำเร็จขอกลุ่ม งานบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ขึ้นอยู่กับสมาชิกในกลุ่มที่จะต้องช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยที่ครูกำหนดวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจน ตลอดจนกำหนดบทบาทการทำงานของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มให้แน่ชัดว่า สมาชิกมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบอะไรกับงานของกลุ่ม
5. มีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (Group Processing) นักเรียนต้องช่วยกัน
ประเมินประสิทธิภาพ การทำงานกลุ่ม และประเมินว่าสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสามารถปรับปรุงการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นได้อย่างไรสมาชิกทุกคนในกลุ่มควรช่วยกันแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกันและตัดสินได้ว่างานครั้งต่อไปจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่หรือควรปฏิบัติเช่นเดิมอีกหรือขั้นตอนการทำงานขั้นตอนใดที่ยังขาดตกบกพร่องและยังไม่ดี ควรปรับปรุงแก้ไขอะไรอย่างไร
นาตยา ปิลันธนานนท์ (2537 : 210 – 212) ได้กล่าวถึงหลักการของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า การเรียนแบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของการทำงานร่วมกัน ให้ผู้เรียนสนุกสนานกับการทำงานด้วยกัน เพื่อให้นักเรียนตื่นตัวในการช่วยเหลือกันอย่างจริงจัง กรจัดกิจกรรมแสดงให้เห็นว่า การช่วยกันเรียนช่วยกันสอน พวกเขาจะได้รับผลตอบแทนอย่างไร พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการวัดผลให้เห็นความสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้ตนเองและกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลักในการจัดกลุ่มควรให้สมาชิกที่มีความสามารถและมีลักษณะต่าง ๆ คละกัน ให้นักเรียนช่วยกันเรียน ช่วยกันสอน เพื่อให้เข้าใจเหมือนที่ตนเองเข้าใจ เมื่อทุกคนทำคะแนนได้ดีก็จะกลับคืนมาเป็นประโยชน์ที่ทุกคนได้รับ ความสำเร็จในการช่วยเหลือกันเรียนเช่นนี้จะทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการช่วยเหลือกันและร่วมมือกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งเสริมความร่วมมือช่วยเหลือกันสามารถทำได้ในลักษณะการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งควรจำทำคู่ขนานกันไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน
จากการศึกษาหลักการของการเรียนรู้แบบร่วมมือพอสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมืออาศัยหลักการที่สำคัญคือ การพัฒนาทักษะทางวิชาการและทักษะการทำงานร่วมกันโดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ผู้เรียนที่เรียนดีจะได้รับการปลูกฝังให้มีความเสียสละในการดูแลรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่ม ไม่เห็นแก่ตนเอง ส่วนผู้เรียนที่เรียนอ่อนจะได้รับการดูแลจากสมาชิกในกลุ่มจนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ซึ่งเป็นลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันในสังคม

การเรียนแบบรวมมือเทคนิค STAD
ความหมายของการเรียนแบบรวมมือเทคนิค STAD
การเรียนแบบรวมมือเทคนิค STAD มีนักการศึกษาไดใหความหมายไวหลายทาน ดังนี้
วัฒนาพร ระงับทุกข (2542: 37) กล่าว่า การเรียนแบบรวมมือเทคนิค STAD เปนการจัดนักเรียนเปนกลุม ๆ ละ 4-5 คน โดยสมาชิกมีความสามารถคละกันทั้งความสามารถสูง ปานกลางและตํ่า แตละกลุมรวมกันศึกษาทบทวนเนื้อหาจนเขาใจหลังจากนั้นครูใหผูเรียนทุกคนทําแบบทดสอบ ตรวจคําตอบ นําคะแนนของสมาชิกทุกคนในกลุมมารวมกันคิดเปนคะแนนกลุม
การเรียนแบบรวมมือที่ใชเทคนิค STAD หมายถึง การเรียนโดยแบงกลุมนักเรียนตามสังกัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งนี้กําหนดใหนักเรียนที่มีความสามารถตางกันมาทํางานรวมกันเปน
กลุมเล็ก ๆ โดยปกติในกลุมหนึ่ง ๆจะมีสมาชิก 4 คนเปนนักเรียนที่เรียนเกง 1 คน เรียนปานกลาง 2 คน และเรียนออน 1 คน ผลการทดสอบของนักเรียนเปนรายบุคคล การทดสอบทั้ง 2 ครั้ง นักเรียน
ตางคนตางสอบแตเวลาเรียนตองรวมมือกัน
สุรศักดิ์ หลาบมาลา (2541 : 4) กล่าวว่า การเรียนแบบรวมมือโดยใชเทคนิคสแตด หมายถึง วิธีการเรียนแบบรวมมือจะตองมีเปาหมายของกลุมและชวยเหลือกัน เพื่อความสํ าเร็จของกลุม กําหนดใหใชเวลาในชั้นเรียนมีการทํางานรวมกันเปนกลุมประมาณ 4 - 5 คน โดยสมาชิกในกลุมจะตองมีความสามารถแตกตางกัน และใชการเสริมแรง เชน รางวัล คําชมเชย เปนตน เพื่อกระตุนใหนักเรียนรวมมือกันทํางาน (กรมวิชาการ กองการวิจัยการศึกษา,2535: 23)
กิ่งดาว กลิ่นจันทร (2537 : 14) กล่าวว่า การเรียนแบบรวมมือที่ใชเทคนิค STAD หมายถึง การแบงกลุมกลุมละ 4 – 5 คน สมาชิกมีความหลากหลายในความสามารถในกลุมนี้จะไมมีการเลนเกมแขงขัน เมื่อสมาชิกในกลุมชวยกันทบทวนบทเรียนพรอมแลวใหทําแบบทดสอบเปนเวลาประมาณ 15 นาที คะแนนที่ไดจากการทําแบบทดสอบจะแปลงคะแนนของแต่ละกลุม โดยใชระบบที่เรียกวา “กลุมสัมฤทธิ์” จะมีโอกาสไดคะแนน ตั้งแตอันดับที่ 1 – 6 เทากันทุกกลุม คะแนนที่แปลงไดจะนําไปรวมกับคะแนนของเพื่อนในกลุม STAD ของตนเปนคะแนนรวมของกลุมวงจรกิจกรรมกลุมSTADไดแก การบรรยาย การอภิปรายในชั้นเรียน 40 นาทีการทบทวนบทเรียน 40 นาที (โดยใหเพื่อนชวยสอนกันในกลุม) และการทําแบบสอบ 15 – 20 นาที วงจรนี้จะใชสัปดาหละ 2 ครั้ง
สลาวิน Slavin (อางถึงใน บุปผชาติ ทัฬหิกรณ 2542: 1-5) การเรียนแบบรวมมือโดยใชเทคนิคสแตดเปนการเรียนที่จูงใจใหนักเรียนรูจักใหกําลังใจและชวยเหลือเพื่อนในการเรียนรูเนื้อหาที่ครูถายทอด ถานักเรียนตองการใหทีมตนไดรับรางวัล ก็ตองชวยสมาชิกในที่เรียนรูเนื้อหานั้น นักเรียนจะตองใหกําลังใจเพื่อนใหเพื่อนทําดีที่สุด ทําใหเกิดบรรยากาศวาการเรียนเปนเรื่องสํ าคัญ มีคุณคา และสนุก การทํางานดวยกันของนักเรียนจะเกิดขึ้นเมื่อครูสอนบทเรียนนั้นจบ
จากที่กลาวมาขางต้นสรุปได วาการเรียนแบบรวมมือเทคนิค STAD หมายถึง การเรียนรูแบบรวมมือรูปแบบหนึ่ง ที่มีการแบงกลุมนักเรียนออกเปนกลุมยอย ประกอบดวยสมาชิก 3 – 5 คน ซึ่งสมาชิกแตละคนมีความสามารถแตกตางกันการทดสอบแตละครั้งตางคนตางทํา แตเวลาเรียนตองรวมมือกันชวยเหลือซึ่งกันและกัน เด็กเกงจะชวยเหลือเด็กออน เพราะจะทําใหคะแนนของกลุมดีขึ้น และมีการเสริมแรงกระตุนใหนักเรียนรวมมือกันทํางาน โดยการใหรางวัล เชน คําชมเชย เปนตน ผลการทดสอบของนักเรียนจะแบงเปน 2 สวน สวนแรกจะพิจารณาคาเฉลี่ยของกลุม สวนที่ 2 จะพิจารณาคะแนนสอบเปนรายบุคคล


ขั้นตอนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ขั้นตอนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีดังนี้ (นาตยา ปลันธนานนท,2538:
4-5)
1) การกําหนดรายวิชาและบทเรียนใหอยูในรูปของการเรียนแบบรวมมือโดย
เทคนิคสแตด ลักษณะของการจัดกิจกรรมโดยเริ่มตนจากครูจะตองกําหนดหนวยการเรียนที่นักเรียนจะตองศึกษากอน จากนั้นพิจารณาแยกยอยหนวยการเรียนนี้วาควรจะประกอบดวยหัวขอเรื่องอะไรบางที่จะครอบคลุมเรื่องราวสาระของทั้งหนวยการเรียน ซึ่งการแบงกลุมนักเรียนในหองจะแบงเปนกี่กลุมก็ได แตสมาชิกในแตละกลุมจะตองเทากับจํานวนหัวขอเรื่องที่จะศึกษา
2) การจัดนักเรียนเขากลุม ในการเรียนแบบรวมมือโดยเทคนิคสแตดนั้นจะมีวิธีการหลักในการจัดกลุม คือ ในแตละกลุมนักเรียนจะมีความสามารถและ
สภาพใกลเคียงกันหรือเรียกวาคละกันมีทั้งนักเรียนเกง ปานกลาง ออน ซึ่งจะกระทําไดโดยการเรียงลําดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน อาจจะใชของปที่ผานมา เปนเกณฑ หรือจากดุลยพินิจของครูเองที่รูจักนักเรียนของตนมากอนแลว จากนั้นจัดลําดับจากผลสัมฤทธิ์สูงไปหา
ตํ่า กอนที่จะจัดเขากลุม (ขอสําคัญ ในการพิจารณาจัดกลุมนั้นจะตองไมมีความเหลื่อมลํ้าให
กลุมใดกลุมหนึ่งมีความไดเปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน)
3) ลักษณะการทํางานกลุม ในการทํางานของแตละกลุม สมาชิกทั้ง 4 คนจะ
แบงกันศึกษาคนละหัวขอ โดยครูจะจัดเตรียมเอกสาร สื่อวัสดุที่จะใชศึกษาคนควาใหพรอมนอกจากนั้นครูยังจะตองเตรียมทํากรอบประเด็นคําถาม ใบงานของแตละหัวขอไวดวยสมาชิกที่ไดรับมอบหมายใหศึกษาหัวขอใดก็จะใชสื่อวัสดุหัวขอนั้น เปนแนวทางในการศึกษาจนเขาใจดีแลว จากนั้นจะตองสอนและอธิบายใหเพื่อนที่ศึกษาหัวขออื่นเขาใจในหัวขอที่ตนรับผิดชอบอยูใหได ใหเพื่อนที่เหลือทั้ง 3 คน ตอบประเด็นคําถามที่ครูใหมา ทํ าใบงานใหได ทํ าเชนนี้แลกเปลี่ยนกันในระหวาง 4 คน ในแตละกลุมจะเห็นไดวา สมาชิกทุกคนในแตละกลุมจะตองชวยกันเรียนและยังตองชวยกันสอนซึ่งกันและกันดวย ทุกคนไดเรียนรูหนวยการเรียนหนวยนี้ดวยกัน โดยการชวยเหลือกันจากนั้นครูจะ
ทําการทดสอบหนวยการเรียนนี้โดยในการทดสอบจะเปนเรื่องของนักเรียนแตละคน แลวเรียกวา “ตัวใครตัวมัน” ซึ่งการทํางานนี้หัวใจสําคัญอยูที่ความรับผิดชอบชวยเหลือกันของสมาชิกแตละคน ทุกคนจึงตองทํ าใหดีที่สุด สมาชิกเรียนรูใหกําลังใจ และเขาใจรวมกัน
การทดสอบ เมื่อจบหนวยการเรียนนั้นแลว นักเรียนทุกคนจะเขาทําการทดสอบใน
สาระที่เรียนแบบตางคนตางสอบ จะชวยเหลือกันมิได แตคะแนนที่ไดจะมีผลสําหรับคะแนนรวมกลุม เพราะจะนําไปรวมกับการประเมินผลยอย แลวแสดงใหเห็นภาพโดยรวมของกลุมออกมาการปรับปรุงคะแนนจะเปิดโอกาสใหนักเรียนไดพัฒนาความสามารถของตนอยางเต็มที่จึงใหนักเรียนสามารถปรับปรุงคะแนนของตนเองไดสูงขึ้นอยางไรก็ตามเพื่อจูงใจใหนักเรียนตื่นตัวในการเรียนกันอยางจริงจังในขณะทํากิจกรรม การเรียนรูครูตองยํ้าใหนักเรียนเห็นความสําคัญของกลุม และคิดวาทุกคนในกลุมมีความสํ าคัญเทา ๆ กัน และทุกคนตองรวมใจกันทําเพื่อกลุม ซึ่งในสวนนี้การประเมินผลจะตองแสดงใหเขาเห็นวาจากการที่ชวยกันเรียนชวยกันสอนพวกเขาจะไดรับผลตอบแทนอยางไร ซึ่งสิ่งเหลานี้จะชวยใหนักเรียนเห็นคุณคาของการชวยเหลือกัน รวมมือกันมากยิ่งขึ้น
สลาวิน (Slavin อางถึงใน วรรณทิพา รอดแรงคา 2542: 145-147) สลาวินเปนผู
พัฒนาการเรียนแบบรวมมือโดยใชเทคนิคสแตดขึ้น โดยกําหนดขั้นตอนของการเรียนไวดังนี้
1) ครูนําเสนอสิ่งที่นักเรียนตองเรียนไมวาจะเปนมโนมติ ทักษะและหรือ
กระบวนการ การนําเสนอสิ่งที่ตองเรียนนี้อาจใชการบรรยาย การสาธิตประกอบการบรรยายการใชวีดีทัศน หรือแมแตการใหนักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองตามหนังสือเรียน
2) ครูแบงนักเรียนออกเปนกลุม ๆ แตละกลุมจะประกอบดวยนักเรียนประมาณ
4-5 คน ที่มีความสามารถแตกตางกัน มีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ครูตองชี้แจงใหนักเรียนในกลุมไดทราบถึงหนาที่ของสมาชิกในกลุมวานักเรียนตองชวยเหลือกัน เรียนรวมกันอภิปรายปญหารวมกัน ตรวจสอบคํ าตอบของงานที่ไดรับมอบหมายและแกไขค าตอบรวมกันสมาชิกทุกคนในกลุมตองทํางานใหดีที่สุดเพื่อใหเกิดการเรียนรู ใหกําลังใจและทํางานรวมกันไดหลังจากที่ครูจัดกลุมเสร็จเรียบรอย ควรใหนักเรียนแตละกลุมทํางานรวมกันจากใบงานที่ครูเตรียมไว ครูจัดเตรียมใบงานที่มีคําถามสอดคลองกับวัตถุประสงคของบทเรียน เพื่อใชเปนบทเรียนของการเรียนแบบรวมมือ ครูควรบอกนักเรียนวา ใบงานนี้ออกแบบมาใหนักเรียนชวยกันตอบคําถาม เพื่อเตรียมตัวสําหรับการทดสอบยอย สมาชิกแตละคนในกลุมจะตองชวยกันตอบคําถามทุกคําถามโดยรวมกันเปนคู ๆ และเมื่อตอบคําถามเสร็จแลวก็จะเอาคําตอบมาแลกเปลี่ยนกันโดยสมาชิกแตละคนจะตองมีความรับผิดชอบ
ชวยเหลือซึ่งกันและกันในการตอบคําถามแตละขอใหได ในการกระตุนใหสมาชิกแตละคนมีความรับผิดชอบตอกัน ตองแนใจวาสมาชิกแตละคนในกลุมสามารถตอบคําถามแตละขอได
อยางถูกตอง ใหนักเรียนชวยกันตอบคําถามทุกขอใหไดโดยไมตองขอความชวยเหลือจากเพื่อนนอกกลุมหรือขอความชวยเหลือจากครูใหนอยที่สุด ตองแนใจวาสมาชิกแตละคนสามารถอธิบาย
คําตอบแตละขอได
3) ครูทดสอบยอยนักเรียนโดยที่นักเรียนตางคนตางทํ าแบบทดสอบ เพื่อเปนการ
ประเมินความรูที่นักเรียนเรียนมา ชมเชย มอบรางวัล สิ่งนี้จะเปนตัวกระตุนความรับผิดชอบของนักเรียน
การเรียนแบบรวมมือเทคนิค STAD ประกอบดวยกิจกรรมที่เปนวงจรตามลําดับ
ขั้นดังนี้ (Slavin 1990 อางถึงใน สุจินต วิศวธีรานนท 2536 : 17)
1. ขั้นสอน ครูดําเนินการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับบทเรียนนั้น ๆ
อาจเปนกิจกรรมที่ครูบรรยาย สาธิต ใชสื่อประกอบการเรียนการสอนหรือใหนักเรียนทํากิจกรรมทดลอง
2. ขั้นทบทวนความรูเปนกลุม แตละกลุมประกอบดวยสมาชิก 4 – 5 คน ที่มี
ความสามารถทางการเรียนแตกตางกัน สมาชิกในกลุมตองมีความเขาใจวา สมาชิกทุกคนจะตอง
ทํางานเพื่อชวยเหลือกันและกัน ในการศึกษาเอกสารและทบทวนความรู เพื่อเตรียมพรอมสําหรับการสอบยอย โดยครูเนนใหนักเรียนทําดังนี้
1) ตองใหแนใจวา สมาชิกทุกคนในกลุมสามารถตอบคําถามไดถูกตอง
ทุกขอ
2)เมื่อมีขอสงสัยหรือปัญหา ใหนักเรียนชวยเหลือกันภายในกลุมกอนที่
จะถามครูหรือถามเพื่อนกลุมอื่น
3) ใหสมาชิกอธิบายเหตุผลของคําตอบของแตละคําถามใหได โดยเฉพาะ
แบบฝกหัดที่เปนคําถามปรนัยแบบใหเลือกตอบ
3. ขั้นทดสอบยอย ครูจัดใหนักเรียนทําแบบทดสอบยอย หลังจากนักเรียนเรียน
และทบทวนเปนกลุมเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดนักเรียนทําแบบทดสอบคนเดียวไมมีการชวยเหลือกัน
4. ขั้นหาคะแนนปรับปรุง คะแนนปรับปรุงเปนคะแนนที่ ไดจากการพิจารณา
ความแตกตางระหวางคะแนนการทดสอบครั้งก อน ๆ กั บคะแนนการทดสอบครั้งปัจจุบันซึ่ง
มีเกณฑการใหคะแนนกําหนดไว ดังนั้นจะตองมีการกําหนดคะแนนพื้นฐานของนักเรียนแตละคน
ซึ่งอาจไดจากคาเฉลี่ยของคะแนนทดสอบ 3 ครั้งกอน หรืออาจใชคะแนนทดสอบครั้งกอน
หากเปนการหาคะแนนปรับปรุงโดยใชรูปแบบการสอน STAD เปนครั้งแรก
การหาคะแนนปรับปรุงอาศัยเกณฑ์ดังนี้
คะแนนจากแบบทดสอบ คะแนนปรับปรุง
ต่ำกวาคะแนนพื้นฐานมากกวา 10 0
ต่ำกวาคะแนนพื้นฐานระหวาง 1 – 10 10
เทากับคะแนนพื้นฐานถึงมากกวา 10 20
มากกวาคะแนนพื้นฐานตั้งแต 10 ขึ้นไป 30
เมื่อไดคะแนนปรับปรุงของนักเรียนแตละคนแลว จึงหาคะแนนปรับปรุงของกลุม
ซึ่งไดจากคาเฉลี่ยของคะแนนปรับปรุงของสมาชิกทุกคน
4. ขั้นใหรางวัลกลุม กลุมที่ไดคะแนนปรับปรุงตามเกณฑที่กําหนดจะไดรับคํา
ชมเชยหรือติดประกาศที่ป้ายนิเทศในหองเรียน
การได้รับรางวัลมีดังนี้
คะแนนปรับปรุงเฉลี่ยของกลุ่ม ระดับรางวัล
15 ดี
20 ดีมาก
25 ดีเยี่ยม

การจัดกิจกรรมรูปแบบ STAD อาจนําไปใชกับบทเรียนใด ๆ ก็ได เนื่องจากขั้น
แรกเป็นการสอนที่ครูดําเนินการตามปกติ แล้วจึงจัดใหมีการทบทวนเปนกลุม

จากการศึกษาขั้นตอนของการเรียนแบบรวมมือโดยใชเทคนิคสแตดสรุปไดวา มี
ลักษณะธรรมชาติที่ตองการใหผูเรียนไดเรียนรูโดยใชกระบวนการกลุมผสมกับความสามารถสวนบุคคลที่ทุกคนตองแสดงออกรวมกัน เพื่อใหบรรลุเปาหมายทั้งของสวนตัวและสวนรวมไปพรอม ๆ กัน โดยกําหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบ่งออกเปนขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นเตรียมผู้เรียน
2) ขั้นสอน
3) ขั้นปฏิบัติกิกรรมกลุ่ม
4) ขั้นทดสอบย่อย
5) ขั้นสรุปผล ประเมินผล และมอบรางวัล

ทฤษฎีที่สอดคลองกับการเรียนแบบรวมมือ
การเรียนการสอนโดยการเรียนแบบรวมมือ เปนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่มีหลักการสอดคลองกับทฤษฎีการเรียนรูที่สําคัญ ๆ ดังนี้
1. ทฤษฎีแรงเสริม
เบอรรัส สกินเนอร (Burrhus Skinner 1958, อางถึงใน สุรางค โคว้ตระกูล 2544:
190-196) กลาววา พฤติกรรมสวนมากของมนุษยเปนพฤติกรรมประเภท OperantBehavior ซึ่งสิ่งมีชีวิต (Organism) ทั้งคนและสัตวเปนผูเริ่มที่จะกระทํ าตอ (Operate) สิ่งแวดลอมของตนเอง สกินเนอรพบวา ถาตองการใหพฤติกรรมคงอยูตลอดไป จํ าเปนตองใหแรงเสริม ไดแบงแรงเสริมออกเปน 2 ประเภท ดังนี้
1) แรงเสริมบวก หมายถึง สิ่งของ คํ าพูด หรือสภาพการณที่จะชวยใหพฤติกรรม
เกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทําใหเพิ่มความนาจะเปนไปไดของการเกิดพฤติกรรม
2) แรงเสริมลบ หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณหรือเปลี่ยนสิ่งแวดลอมบางอยาง
ก็อาจจะทําใหอินทรียแสดงพฤติกรรมได ตัวอยางเชน นักเรียนที่ชอบคุย และแหยเพื่อน เวลาครูใหทํางาน จึงถูกครูจับไปนั่งเดี่ยวที่มุมหองและตองนั่งทํางานคนเดียว หลังจากที่นักเรียนตั้งใจทํางานครูก็อนุญาตใหกลับมานั่งที่ตามเดิมของตนรวมกับเพื่อน ๆ ได การแยกนักเรียนออกไปจากเพื่อน
เปนแรงเสริมทางลบซึ่งตางกับการลงโทษ เพราะการลงโทษ มักจะทําหลังจากนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไมพึงปรารถนาโดยหยุดการแยกนักเรียนจากหมูเพื่อน เมื่อนักเรียนทํางานเรียบรอยดวยความตั้งใจ นักเรียนสวนมากจะพยายามหนีจากสภาพการณที่ไมพึงปรารถนา เชน แยกอยูอยางโดดเดี่ยว
สกินเนอรเห็นความสําคัญของการใหแรงเสริมมาก จึงไดทําการวิจัยเกี่ยวกับการใหแรงเสริมไว
อยางละเอียด สกินเนอรไดแบงการใหแรงเสริมออกเปน 2 ชนิดคือ
1) การใหแรงเสริมทุกครั้ง คือใหแรงเสริมแกอินทรียที่แสดงพฤติกรรมที่กำหนด
ไวทุกครั้ง (Continuous Reinforcement)
2) การใหแรงเสริมเปนครั้งคราว (Partial Reinforcement) คือไมตองใหแรงเสริม
ทุกครั้งที่อินทรียแสดงพฤติกรรม สกินเนอรพบวาการใหแรงเสริมทุกครั้งแมวาจะชวยในระยะแรกของการเรียนรูแบบการวาเงื่อนไข แตไมมีประสิทธิภาพดีเทากับการใหแรงเสริมเปนครั้งคราว และไดทํ าการวิจัยเกี่ยวกับการใหแรงเสริมแบบเปนครั้งคราวไวอยางละเอียดโดยแบงการใหแรงเสริม
เปนครั้งคราวออกเปน 4 ประเภทคือ
(1) การใหแรงเสริมตามชวงเวลาที่แนนอน (Fixed Interval) หมายถึงการใหแรง
เสริมโดยการกําหนดระยะเวลาหลังจากผูเรียนแสดงพฤติกรรมที่ถูกเปนครั้งแรก และครั้งตอ ๆ ไปไดอยางแนนอน ผูแสดงพฤติกรรมสามารถจะคาดคะเนไดถูกวาเมื่อไรไดรับแรงเสริม
(2) การให แรงเสริมตามชวงเวลาที่ไมแนนอนหรือไมสมํ่าเสมอ(Variable
Interval) หมายถึง ชวงเวลาที่จะใหแรงเสริมครั้งแรกและครั้งตอไป ไมคงที่เปลี่ยนแปรอยูเสมอ ผูแสดงพฤติกรรมไมสามารถจะทาย หรือคาดคะเนไดวาเมื่อไรจะไดรับแรงเสริม
(3) การใหแรงเสริมตามอัตราสวนที่แนนอนหรือคงที่ (Fixed Ratio)หมายถึง การ
ใหแรงเสริมตามจํานวนครั้งของพฤติกรรมโดยจัดเปนอัตราสวนที่คงที่ระหวางการสนองตอบที่ไมไดรับแรงเสริม กับการสนองตอบที่ไดรับแรงเสริม
(4) การใหแรงเสริมตามอัตราสวนที่ไมแนนอน (Variable Ratio)หมายถึง เปนการ
ใหแรงเสริมที่ผูแสดงพฤติกรรมไมสามารถจะคาดคะเนไดถูกวา เมื่อไรจะไดรับแรงเสริม เปนการใหแรงเสริม พฤติกรรมตามจำนวนครั้งที่เปลี่ยนแปรไปเสมอ ผูเรียนไมสามารถที่จะคาดคะเนหรือทายไดวาเมื่อไรจะไดรับแรงเสริม
สกินเนอรมีความเชื่อมั่นวา แรงเสริมเปนตัวแปรสําคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรม
หรือการเรียนรูของนักเรียน ดังนั้นครูที่ดีจะตองสามารถจัดสภาพของการเรียนการสอน เพื่อใหนักเรียนไดรับแรงเสริมเมื่อการเรียนรูไดเกิดขึ้น พฤติกรรมใดที่ไดรับแรงเสริมพฤติกรรมนั้นจะเปนสวนหนึ่งที่นักเรียนเรียนรูพฤติกรรมใดที่ไมไดรับแรงเสริม แมวาจะเนนสิ่งที่ครูตองการใหเกิดก็จะอยูไมนานคงทนสรุปหลักสําคัญของการใชแรงเสริมในการสอนมีดังนี้
1) ครูตองทราบวาพฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงวานักเรียนเรียนรูแลวมีอะไร
บาง และใหแรงเสริมพฤติกรรมนั้น ๆ
2) ตอนแรก ๆ ครูควรจะใหแรงเสริมทุกครั้งที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมที่พึง
ปรารถนา แตตอนหลังใชแรงเสริมเปนครั้งคราวได
3) ถาจําเปนสําหรับนักเรียนบางคนในการเปลี่ยนพฤติกรรม ครูอาจจะใชแรงเสริม
ที่เปนขนม หรือรางวัลที่เปนสิ่งของ หรือสิ่งที่จะเอาไปแลกเปนของรางวัลได
4) ครูจะตองระวังไมใหแรงเสริม เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมไมพึงปรารถนา
5) สํ าหรับพฤติกรรมที่ซับซอน หรือการเรียนรูที่ซับซอน ครูควรจะใชหลักการตัด
พฤติกรรม คือใหแรงเสริมกับพฤติกรรมที่นักเรียนทํ าไดใกลเคียงกับเปาหมายที่กําหนดไวตามลํ าดับขั้น
6) คอย ๆ ลดสัญญาณบอกแนะหรือการชี้แนะลงเมื่อเริ่มเห็นวาไมจํ าเปน
7) คอย ๆ ลดแรงเสริมแบบใหทุกครั้งลง เมื่อเห็นวาผูเรียนทํ าไดแลว และผูเรียน
เริ่มแสดงวามีความพึงพอใจซึ่งเปนแรงเสริมดวยตนเองจากการทํ างานนั้นได
2. ทฤษฎีสนาม (Field Thcory) ของเคิรท เลวิน (Kurt Lewin อ้างถึงใน ทิศนา
แขมมณี,2545 : 10 - 12) ไดกลาวถึงแนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสนาม (Field Theory) ซึ่งมีแนวคิดที่สําคัญของทฤษฎี ดังนี้
1) พฤติกรรมจะเปนผลมาจากพลังความสัมพันธของสมาชิกในกลุม
2) โครงสรางของกลุมเกิดจากการรวมกลุมของบุคคลที่มีลักษณะแตกตางกัน
3) การรวมกลุมแตละครั้งจะตองมีปฏิสัมพันธระหวางสมาชิกในกลุมโดย
เปนปฏิสัมพันธในรูปการกระทํา (act) ความรูสึก (fecl) และความคิด (think)
4 ) องคประกอบตาง ๆ ดังที่กลาวมาไวในขอ 3) จะกอใหเกิดโครงสรางของ
กลุมแตละครั้ง ซึ่งมีลักษณะแตกตางกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกในกลุม
5) สมาชิกในกลุมจะมีการปรับตัวเขาหากัน และพยายามชวยกันทํางานซึ่งการที่บุคคลพยายามปรับบุคลิกภาพของตนที่ มีความแตกตางกันนี้จะกอให้ เกิดความเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน และทําใหพลังหรือแรงผลักดันของกลุมที่ทําใหการทํางานเปนไปดวยดี
3. ทฤษฎีจิตวิเคราะหของฟรอยด
ซิกมันด ฟรอยด (Sigmund Freud, 1930, อางถึงใน สุรางค โควตระกูล2544:
32-39) กลาววา ความหมายของพัฒนาการในวัยเด็ก ถือวาเปนรากฐานของพัฒนาการของบุคลิกภาพตอนวัยผูใหญ และมีความเชื่อวา 5 ปแรกของชีวิตมีความสํ าคัญมาก เปนระยะวิกฤติของพัฒนาการของชีวิต บุคลิกภาพของผูใหญมักจะเปนผลรวมของ 5 ปแรก ฟรอยดเชื่อวาบุคลิกภาพของผูใหญที่แตกตางกันก็เนื่องจากประสบการณของแตละคนเมื่อเวลาอยูในวัยเด็กและขึ้นอยูกับวาเด็กแตละคนแกปญหาของความขัดแยงของแตละวัยอยางไร
ทฤษฎีของฟรอยดอาจจะกลาวหลักการโดยยอไดโดยแบงจิตมนุษยออกเปน 3
ระดับ ดังนี้
1) จิตสํ านึก (Conscious) เปนระดับที่ผูแสดงพฤติกรรมทราบและรูตัว
2) จิตกอนสํานึก (Pre-Conscious) เปนสิ่งที่จะดึงขึ้นมาอยูในระดับจิตสํานึกไดงาย
ถาหากมีความจําเปนหรือตองการ
3) จิตไรสํานึก (Unconscious) เปนระดับที่อยูในสวนลึกภายในจิตใจจะดึงขึ้นมา
ระดับจิตสํานึกไดยาก แตสิ่งที่อยูในระดับไรสํ านึกก็มีอิทธิพลตอพฤติกรรมฟรอยดกลาววา พัฒนาการทางบุคลิกภาเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลาโดยเฉพาะขั้นวัยทารก วัยเด็ก และวัยรุน ระบบทั้ง 3 ของบุคลิกภาพคือ
1) Id เปนส วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ติดตัวเรามาตั้งแตเกิด แตเปนสวน
ที่เปนจิตไรสํ านึกมีหลักการที่จะสนองความตองการของตนเองเทานั้น เอาแตไดอยางเดียว และ
จุดเปาหมายก็คือ หลักความพึงพอใจ (Pleasure Principle) Id จะผลักดันให Ego ประกอบใน
สิ่งตาง ๆ ตามที่ Id ตองการ
2) Ego เปนสวนของบุคลิกภาพที่พัฒนามาจากการที่ทารกไดติดตอหรือมี
ปฏิสัมพันธกับโลกภายนอก บุคคลที่มีบุคลิกภาพปกติคือ บุคคลที่ Ego สามารถที่จะปรับตัว
ใหเกิดสมดุลระหวางความตองการของ Id โลกภายนอก และ Superego หลักการที่ Ego ใชคือ
หลักแหงความเปนจริง (Reality Principle)
3) Superego เปนสวนของบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นในระยะที่ 3 ของพัฒนาการ
ที่เชื่อวา “Phallic Stage” เปนสวนของบุคลิกภาพที่ตั้งมาตรการของพฤติกรรมใหแตละบุคคล
โดยรับคานิยมและมาตรฐานจริยธรรมของบิดามารดาเปนของตน โดยตั้งเปนมาตรการความ
ประพฤติ มาตรการนี้จะเปนเสียงแทนบิดามารดา คอยบอกวาอะไรควรทํา หรือไมควรทํ า
มาตรการของพฤติกรรมโดยมากไดมาจากกฎเกณฑตาง ๆ ที่บิดามารดาสอนและมักจะเปน
มาตรฐานจริยธรรมและคานิยมตาง ๆ ของบิดามารดา ฟรอยดกลาววา เปนผลการปรับพฤติกรรม
ทํ าใหเด็กชายเลียนแบบพฤติกรรมของผูชายจากบิดา และเด็กหญิงเลียนแบบพฤติกรรมของ
ผูหญิงจากมารดา แลวยังยึดถือหลักจริยธรรม คานิยมของบิดามารดาเปนมาตรการของพฤติกรรม
ดวย








เพื่อให้เกิดความเข้าใจกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการ
เรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้เขียนขอเสนอตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ดังนี้
ตัวอย่าง
แผนการจัดการเรียนรูแบบร่วมมือเทคนิค STAD
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คํานาม ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2
เวลา 50 นาที
***********************************************************************************
1. สาระสําคัญ
คํานาม หมายถึง คําที่ใชเรียกชื่อ คน สัตว สิ่งของ สภาพและอาการตาง ๆ ทั้งรูปธรรมและ
นามธรรม จําแนกออกเปนหลายชนิด แตละชนิดมีหนาที่และวิธีใชตางกัน การศึกษาเรื่องคํานามให
เกิดความรูความเขาใจ สามารถนํ าไปใชไดถูกตองเหมาะสม จะชวยใหใช ภาษาสื่อสารไดอยางมี
ประสิทธิภาพ
2. ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
มีความรูความเขาใจเรื่อง คํานาม และใชคํานามไดถูกตอง
3. จุดประสงคการเรียนรู
3.1 บอกความหมายของคํานามได
3.2 จําแนกชนิดของคํานามพรอมยกตัวอยางได
3.3 บอกหนาที่ของคํานามแตละชนิด พรอมยกตัวอยางได
3.4 นําคํานามไปใชไดอยางถูกตองเหมาะสม
4. เนื้อหาสาระ
4.1 ความหมายของคํานาม
4.2 ชนิดของคํานาม
4.3 หนาที่ของคํานาม
5. กิจกรรมการเรียนรู
5.1 ขั้นเตรียมผู้เรียน
5.1.1 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ สนทนาข้อตกลงการปฎิบัติตนในการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ โดยนักเรียนต้องรู้สึกเสมอว่า การเรียนต่อไปนี้จะเต็มไปด้วยบรรยากาศการร่วมมือกัน เพื่อผลงานของกลุ่ม ทุกคนจะปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ เต็มเวลาและเต็มความสามารถของตน ครูจะเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนตลอดเวลา ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน
5.2 ขั้นสอน
5.2.1 ใหนักเรียนดูภาพเด็กกําลังเลนที่ชายทะเลแลวเขียนชื่อสิ่งตาง ๆ ที่นักเรียนเห็นมาใหมากที่สุด (ให เวลา 1 นาที ) นักเรียนคนที่ เขียนไดมากที่สุดออกมาพูดหนาชั้นเรียนวาตนเห็นอะไร
ในภาพบาง จากนั้นใหนักเรียนชวยกันจัดกลุมคําที่นักเรียนเขียนเปนกลุมดังนี้
กลุมที่ 1 คําที่เปนชื่อ คน
กลุมที่ 2 คําที่เปนชื่อ สัตว
กลุมที่ 3 คําที่เปนชื่อ สิ่งของ
เมื่อนักเรียนจัดกลุมคําเรียบรอยแลว ครูนําแถบประโยคคําประพันธมาติดบนกระดานดําใหนักเรียนอานและทายวาคําประพันธขางตนเปนความหมายของคําชนิดใด“คําที่เรียกชื่อ คน สัตว และสิ่งของ ลองตีความกอนดีไหมเรียกกันวาเปนคําชนิดใด ใครตอบไดตอบทีมีรางวัล”(เฉลย คําตอบ คือ คํานาม)
5.2.2 นักเรียนชวยกันสรุปความหมายของคํานามจากคําประพันธที่ครูยกมา
5.2.3 ครูอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับคําและชนิดของคํานามประกอบการซักถาม จากนั้นให
นักเรียนศึกษาใบความรูเพิ่มเติม
5.2.4 สุมนักเรียน 4-5 คน ใหยกตัวอยางคํานามแตละชนิดเพื่อใหเพื่อนในชั้นเรียนสังเกต
ตัวอยางคําและอธิบายความหมายของคํานามชนิดนั้น ๆ (แนวคําตอบ สามานยนาม คือ คํานามที่ใชเรียกชื่อไมชี้เฉพาะ เชน นก ไก ชาย หญิง มนุษย เปนตน วิสามานยนาม คือ คํานามที่เปนชื่อชี้เฉพาะเจาะจงของคน สัตว และ สิ่งของเชน สุกัญญา ดอกกุหลาบ จังหวัดราชบุรี เปนตน)
5.2.5 นักเรียนชวยกันสรุปความหมายของคํานามแตละชนิด โดยครูเสริมและสรุปอีกครั้ง
5.2.6 ครูนําแถบประโยคติดบนกระดานดํา ใหนักเรียนชวยกันบอกวามีคํานามใดบางและอยูสวนใดของประโยค ทําหนาที่อะไร
(1) ทําหนาที่ประธานในประโยค เชน ตะวันขึ้น, การนอนหลับเปนการพักผอน
(2) ทําหนาที่บทกรรมในประโยค เชน นักเรียนเขียนจดหมาย, พระสุริโยทัยมีความ
กลาหาญ
(3) ทําหนาที่ขยายคํานามดวยกัน เชน นักเรียนชายชอบแอบกินขนมในหองเรียน,
เกาะสีชังเปนเกาะที่สวยที่สุด


5.3 ขั้นกิจกรรมกลุม
ใหนักเรียนทํางานรวมกันตามกลุมที่จัดเตรียมไว (กลุม STAD) โดยครูแจกใบงานใหนักเรียนได ศึกษาชนิดและหนาที่ของคํานาม ชวยกันสรุปความหมายชนิดและหนาที่ของคํานามเพื่อสอบเก็บคะแนนกลุม ดังนั้น นักเรียนในกลุ มเดียวกันตองชวยเหลือกั นแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น และสามารถอธิบายเหตุผลของคําตอบในใบงาน เพื่อใหสมาชิกในกลุมทุกคนเขาใจในเนื้อหากอนที่จะถามครูหรือเพื่อนกลุมอื่น
5.4 ขั้นทดสอบ
หลังจากที่นักเรียน เรียนและทบทวนความรู เรื่อง คําและหนาที่ ของคํานาม เปนกลุม
STAD แลวใหนักเรียนทําแบบทดสอบเรื่อง คํานาม เปนรายบุคคลโดยไมมีการชวยเหลือซึ่งกันและกัน (ใหเวลา 10 นาที)
5.5 ขั้นสรุปผล ประเมินผล และมอบรางวัล
ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบของแบบทดสอบและรวมคะแนนของกลุ่ม โดยนำ
คะแนนของสมาชิกทุกคนมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนสมาชิก เมื่อได้คะแนนของกลุ่มแล้ว นำ
คะแนนของกลุ่มเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่ากลุ่มที่ยอดเยี่ยม เก่งมาก มอบรางวัลให้กับกลุ่มยอดเยี่ยม
6. สื่อการเรียนรู
1. แถบประโยคคําประพันธ เรื่อง คํานาม
2. แถบประโยค 6 ประโยค ไดแก
- ตะวันขึ้น
- การนอนหลับเปนการพักผอน
- นักเรียนเขียนจดหมาย
- พระสุริโยทัยมีความกลาหาญ
- นักเรียนชายชอบแอบกินขนมในหองเรียน
- เกาะสีชังเปนเกาะที่สวยที่สุด
3. ใบงาน เรื่อง คํานาม
4. ใบความรูเรื่อง คําและหนาที่ของคํานาม
5. แบบทดสอบ เรื่อง คํานาม
6. ภาพประกอบการสอนเรื่อง คํานาม (ภาพเด็กกําลังเลนที่ชายทะเล)

7. การวัดและประเมินผล
1. วิธีวัดและประเมินผล
1.1 สังเกตการรวมกิจกรรม
1.2 ตรวจผลงานของนักเรียนจากใบงาน
1.3 ประเมินคุณธรรม จริยธรรม คานิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค
2. เครื่องมือวัดและประเมินผล
2.1 แบบสังเกตการปฏิบัติงานกลุมสําหรับครูและนักเรียน
2.2 แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม คานิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค

เหตุผลที่เลือกวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD

จากการศึกษาค้นคว้าของผู้เขียน พบว่าการแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา เช่น เกม บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน หนังสืออ่านเพิ่มเติม แต่การนำรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆมาใช้มีค่อนข้างน้อย การนำรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆและมีประสิทธิภาพมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ผู้เขียนให้ความสนใจ การเรียนแบบร่วมมือกันเป็นการจัดการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับว่าสามารถพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ เนื่องจากเป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม ปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น การเรียนแบบร่วมมือกันประกอบด้วยรูปแบบการสอนหลากหลายเทคนิค การเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (Student Team Achivement Division) เป็นรูปแบบการ
เรียนแบบร่วมมือกันอีกเทคนิคหนึ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยของ
Robert Slavin (1995) พบว่าการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และทำให้นักเรียนมีทัศนคติต่อวิชาที่เรียนดีขึ้นนอกจากนี้ยังสามารถดัดแปลงใช้ได้กับทุกรายวิชา เนื่องจากมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่ง่าย เหมาะสำหรับครูที่เริ่มใช้การเรียนแบบร่วมมือกันในระยะเริ่มแรก และเหมาะสำหรับนักเรียนที่เริ่มต้นฝึกการเรียนแบบร่วมมือกันในระยะเริ่มแรก
รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เป็นรูปแบบที่ได้พัฒนามาจากการเรียนแบบร่วมมือกัน มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเริ่มจากการนำเข้าสู่บทเรียนและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งในขั้นนี้จะเป็นการสร้างความสนใจ และตรวจดูความพร้อมของผู้เรียนโดยใช้การสนทนาหรือใช้เกม จากนั้นครูจะแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4 - 5 คน ซึ่งมีความสามารถทางการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ขั้นตอนนี้ครูจะนำเสนอบทเรียน โดยใช้วิธีการต่างๆประกอบสื่อการสอน เช่น แผ่นใสบัตรคำ รูปภาพ เป็นต้น หลังจากนั้นนักเรียนจะได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยนักเรียนศึกษาใบงานร่วมกับสมาชิก ซึ่งทุกคนในกลุ่มจะต้องเรียนรู้เนื้อหานั้นให้เข้าใจและช่วยกันทำงาน และในขั้นสรุป ครูสุ่มนักเรียนซักถามความเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดพลาด เมื่อจบเนื้อหาในแต่ละบทเรียน ท้ายชั่วโมงจะมีการทำแบบทดสอบย่อยเป็นรายบุคคลซึ่งจะคิดคะแนนออกมาเป็นรายบุคคลและคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นขั้นวัดผลประเมินผลและมอบรางวัล ซึ่งครูจะประกาศคะแนนให้กลุ่มรู้ ให้รางวัลกับกลุ่มที่ทำคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เป็นแรงจูงใจให้นักเรียนตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่มจากการศึกษารูปแบบและขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของวิธีการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) จะเห็นว่ามีกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าความรู้ ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง และมีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียนและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนมากขึ้น
วิธีสอนแบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์เป็นวิธีสอนที่สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเป็นอย่างดี เพราะมีขั้นตอนการสอนที่จะมีการให้รางวัลและให้คะแนนเป็นตัวกระตุ้นความตั้งใจของนักเรียนในทุกๆบทเรียน ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมติดอยู่กับงาน มีความตั้งใจทำงานและรับผิดชอบมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนอีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของทุกระดับความสามารถสูงขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเองนักเรียนในกลุ่มเก่งจะช่วยเหลือและยอมรับนักเรียนกลุ่มอ่อน ทำให้นักเรียนกลุ่มอ่อนเกิดความภาคภูมิใจในตนเองมีความต้องการที่จะเรียนมากยิ่งขึ้นผู้เขียนมีความเห็นว่าการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) น่าจะเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและนักเรียนไม่สนใจเรียนได้ ผู้เขียนจึงสนใจที่จะนำรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนของนักเรียน

ไม่มีความคิดเห็น: